หน้าเว็บ

23 มิถุนายน 2553

Klong pla kang waterfall


น้ำตกคลองปลาก้าง

                                                                      น้ำตกคลองปลาก้าง


พิศวง...ชีวิตลึกลับในราวไพร 

สำหรับพรรณพฤกษชาติที่น่าสนใจและหายาก และมีโอกาสพบได้เฉพาะช่วงฝนเท่านั้น มีชื่อที่เรารู้จักในภาษาไทยก็คือ พิศวง ทางวิชาการจัดให้อยู่ในสกุล Thismia เป็นพืชมีดอกในกลุ่ม พืชใบเลี้ยงเดี่ยว อดีตเคยถูกจัดไว้ในวงศ์หญ้าข้าวก่ำ (Family Burmaniaceae) ทว่าปัจจุบันแยกออกมาเป็น วงศ์พิศวง (Family Thismiaceae) ซึ่งทุกชนิดในวงศ์นี้เป็นพืชกินซากขนาดเล็ก พืชในวงศ์นี้ทั่วโลกมีอยู่ 10 สกุล ราว 25 ชนิด โดยส่วนใหญ่พบเฉพาะป่าฝนเขตร้อน ยกเว้นทวีปแอฟริกาและยุโรปที่ยังไม่มีรายงานการค้นพบ 
สำหรับประเทศไทยพบ 1 สกุล จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ Thismia javanica (J.J. Smith) กับ Thismia mirabilis (K. Larsen) ชนิดนี้ค่อนข้างพบได้ยากกว่า เพราะมันเป็นพืชเฉพาะถิ่นของบ้านเรา 

จากที่เห็นทำให้เราทราบว่าพืชในสกุลพิศวง มีขนาดเล็ก ฉ่ำน้ำ มีลำต้นทอดเลื้อยอยู่ใต้ผิวดิน ลำต้นที่แทงขึ้นมาเหนือพื้นดินส่วนใหญ่มักไม่แตกกิ่ง ใบลดรูปลงเหลือเป็นเพียงเกล็ดเล็กๆ กลีบดอกเชื่อมติดกัน หลอดกลีบดอกมี 6 พู แบ่งออกเป็น 2 ชั้น มีรูเปิด 3 รู เกสรตัวผู้มี 3 อัน ไม่ติดกันหรืออาจรวมกันเป็นหลอดเกสรตัวผู้ติดกับโคนหลอดกลีบดอก ผลเป็นแบบมีเนื้อ มีโคนของหลอด กลีบดอกเป็นวงมีก้าน และ ยอดเกสรตัวเมียติดอยู่ 

ชนิดแรก มีชื่อเรียกตามหนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทยว่า พิศวงรยางค์ Thismia javanica (J.J. Smith) ดอกสีส้มอ่อน มีเส้นลายสีแดงพาดตามยาวโดยรอบ มีลักษณะงดงามแปลกตายิ่ง ซึ่งชนิดนี้เป็นพันธุ์ไม้ต้นแบบ พบครั้งแรกบนเกาะชวา อินโดนีเซีย

สำหรับในประเทศไทยมีรายงานการพบอยู่หลายพื้นที่ตั้งแต่ใต้สุดจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา–บาลา อุทยานฯ เขาสก เขตรักษาพันธุ์ฯ คลองนาคา อุทยานฯ ไทรโยค อุทยานฯ เขาใหญ่ และผมได้พบอีกหลายแหล่ง คือ อุทยานฯ ปางสีดา อุทยานฯ ศรีพังงา อุทยานฯ ภูจอง–นายอย เขตรักษาพันธุ์ฯ ยอดโดม

ส่วนพิศวงชนิด Thismia mirabilis (K. Larsen) เป็นพันธุ์ไม้เฉพาะถิ่นของประเทศไทย พบได้ค่อนข้างยากกว่าชนิดแรก และมีลักษณะแปลกกว่าดอกไม้ทั่วไป ดอกมีสีดำแกมฟ้า รูปร่างคล้ายคนโท พบขึ้นอยู่ริมลำธารที่มีธาตุอาหารค่อนข้างสมบูรณ์ สำหรับชื่อของชนิดนี้ในภาษลาติน mirabilis แปลออกมาได้ว่า มหัศจรรย์ ซึ่งก็น่าจะเป็นความจริงดั่งชื่อ ซึ่งมีรายงานการพบครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2506 ที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ใช้เป็นพันธุ์ไม้ต้นแบบในการอธิบายลักษณะและตั้งชื่อพฤกษศาสตร์ของพืชชนิดนี้ โดยพิศวงสีดำชนิดนี้มีรายงานการพบ 2 ที่เท่านั้น คืออุทยานฯ เขาใหญ่ และบนเกาะช้าง จ. ตราด


ที่มาของข้อมูล http://www.raorakpar.org/raorakparboard/index.php?topic=396.0



ผีเสือแสนสวย


ก้อนหินวางเรียงรายปกคลุมไปด้วยมอสและตะไคร้น้ำ

น้ำตกคลองปลาก้าง อ. แกลง จ. ระยอง
น้ำตกคลองปลาก้าง
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่มีความยาวลดหลั่นกันประมาณ 3 กิโลเมตร ตลอดทั้ง 2 ฝั่งลำธารน้ำตกเป็นป่าดงดิบบริสุทธิ์ มีกล้วยไม้ป่า พืชพื้นล่างจำพวกว่าน เฟิน ขึ้นปกคลุมหนาแน่น น้ำตกคลองปลาก้างเป็นน้ำตกที่สวยงามที่สุดอีกแห่งหนึ่งของอุทยานแห่งชาติ ประกอบด้วยชั้นน้ำตกและวังน้ำต่างๆ โดยเฉพาะวังช้างข้ามซึ่งเป็นชั้นน้ำตกขนาดใหญ่ที่สวยงามมาก
--------------------------------------------------------------------------------------------
Klong Pla Kang waterfall, A. Klang, Rayong
Located in the area. Khao Cha Mao - Wong. state Park is located approximately four kilometers as of the outsized waterfall is roughly speaking three kilometers protracted descending jointly the whole time the support cut up run cataract is unmixed rainforest. in addition to squally orchids. Plant impose a curfew protect classes with the purpose of the density of fern. Klong Pla Kang fall is a tumble at one of the nearly everyone lovely park. Wang, waterfalls and wet layer contains a choice of Wang Chang, remarkably transversely a outsized class of attractive waterfalls.


free counters

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น